ประวัติสมาคมช่างทองไทย
สมาคมช่างทองไทยได้จดจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2551 ด้วยการรวมตัวของ ผู้ประกอบอาชีพด้านการผลิตเครื่องประดับอัญมณี ซึ่งเประกอบด้วย ช่างในกระบวนการผลิตทั้งหมด เช่น ช่างทอง(รูปพรรณโลหะ) ช่างเจียระไนอัญมณี ช่างฝังหรือ(ช่างประดับอัญมณี) ช่างหล่อโลหะรูปพรรณ และช่างขัดเป็นต้น กับช่างทองโบราณเช่น ช่างทองหลวง ช่างเครื่องทองสุโขทัย และ ช่างครื่องประดับ เพชรบุรีเป็นต้น รวมไปถึง นักออกแบบ และผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
ก่อนจะจัดตั้งเป็นสมาคมช่างทองไทยขึ้นมา กลุ่มช่างเครื่องประดับ โดยการนำของ อาจารย์เสวต สมิทธาภิรดี(อ.ฝ้าย) และอาจารย์เพิ่มสุข นิติสิงห์ผู้อำนวยการกาญจนา ภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมทางด้านวิชาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่ปี 2539 ในชื่อชมรมช่างทองไทย จวบจนถึงปี2545 คุณอนุรัตน์ เขมานิฏฐาไท ได้สานต่อแนวคิดโดยนับรวมเอาช่างเครื่อง ประดับทุกสาขาแลปรับเปลี่ยน ชื่อใหม่ว่าชมรมช่างเครื่องประดับไทย ต่อมาได้ร่วมกันจดจัดตั้งสมาคมของช่างขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่าสมาคมช่างทองไทย มีท่านอาจารย์เสวต สมิทธาภิรดีเป็นนายกคนแรก ซึ่งถือเป็นจุดรวมพลังกันของกลุ่มคณะต่างๆที่ประกอบ ด้วย กลุ่มชมรมช่างเครื่องประดับไทยมีอาจารย์เสวต สมิทธาภิรดีและคุณอนุรัตน์ เขมานิฏฐาไทเป็นแกนนำ กลุ่มคณะครูอาจารย์ ช่างทองโบราณ ในสังกัดกาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง และกลุ่มชมรมช่างทอง 965(Gold 99) โดยการนำของคุณประสานชัย ตรึงจิตวิลาส และคุณโชคชัย อัศวกาญจนกิจซึ่งเป็นช่างทองที่ผลิตทองรูปพรรณ 96.5 % สู่ร้านทองรูปพรรณ จนถึงต้นปี 2555 ชมรมวิชาชีพช่างจิวเวลรี่ไทย โดยการนำของคุณณัฐวุฒิ พูนผลได้เข้าร่วมสมทบกับสมาคมฯอีกคณะหนึ่ง ต่อมาในวาระการนำพาของท่านนายกสมาคมบุญเลิศ สิริภัทรวณิชได้เล็งเห็นว่า นอกจากความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆภายใต้ชื่อสมาคมช่างทองไทยแล้ว เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆได้ก่อเกิดประโยชน์ ต่อบุคลากรสายอาชีพอย่างแท้จริง
จึงได้กำหนดให้มีการตั้งชมรมช่างทองไทยและเครื่องประดับขึ้น ควบคู่กับการดำเนินงานของสมาคมช่างทองไทย เพื่อที่จะได้เข้าถึงช่าง ในทุกสาขาของสายอาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ นั่นเอง